การผ่าตัดเพื่อลดน้ำหนัก


สำหรับคนที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วนทั้งหลายคงเคยคิดใช่ไหมค่ะว่า อยากผ่าตัดเพื่อช่วยลดน้ำหนัก  เราลองมาดูกันว่าการผ่าตัดเพื่อลดน้ำหนักจะดีจริงหรือไม่ และเขามีวิธีการทำกันอย่างไร แล้วมันจะเหมาะสมกับเราหรือไม่



การผ่าตัดเพื่อลดน้ำหนักมี 2 วีธีการหลักๆ คือ

1.     การผ่าตัดเพื่อลดปริมาณกระเพาะอาหาร ซึ่งจะลดปริมาตรลงเหลือเพียง 30-50 มิลลิเมตร(ปริมาตรกระเพาะอาหารของคนอ้วนบางคนใหญ่มากกว่า 1000 มิลลิลิตร) ทำให้ผู้ป่วยกินอาหารเข้าไปเพียงเล็กน้อยก็เต็มกระเพาะทำให้อิ่มเร็วขึ้นขณะเดียวกันก็จะเย็บกระเพาะอาหารส่วนที่เป็นทางออกของอาหารให้แคบๆ ให้อาหารค้างในกระเพาะนานๆ ทำให้อิ่มนาน

2.    การผ่าตัดลำไส้เล็กให้สั้นลง ซึ่งจะผ่าตัดลดปริมาตรลงเหลือ 100-150 มิลลิเมตร ร่วมกับผ่าตัดลำไส้เล็กให้สั้นลง ทำให้อาหารถูกย่อยและดูดซึมได้น้อยลง ยิ่งลำไส้ที่ทำงานสั้นเพียงใด ก็จะลดน้ำหนักได้มากเท่านั้น

  ทั้งสองวิธีนี้จะช่วยลดน้ำหนักได้ 20-50 กิโลกรัม นอกจากนี้ยังช่วยทำให้โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหยุดหายใจขณะนอนหลับ โรคหอบหืด หายขาด หรือดีขึ้นได้หลังผ่าตัด แต่อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดก็มีอันตรายมีผู้เสียชีวิตจากการผ่าตัด 0.1-1%  แล้วแต่วิธี การผ่าตัดทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนหลังผ่าตัดมากตั้งแต่ คลื่นไส้ อาเจียน เลือดออกในกระเพาะอาหาร ลำไส้ตีบตัน ขาดสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ

            ดังนั้นการผ่าตัดจะเหมาะสมสำหรับคนที่อ้วนมากๆ เท่านั้น เพราะจะได้ประโยชน์จากการผ่าตัด มากกว่าผลเสียของการผ่าตัด และผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทุกราย ต้องมาตรวจติดตามผลการรักษาและโรคแทรกซ้อนต่างๆ ตลอดชีวิต และต้องปรับเปลี่ยนวิถีการรับประทานอาหารเหลือมื้อละน้อยๆ บ่อยๆ มื้อแทน เพื่อไม่ให้แผลที่เย็บไว้ฉีกขาด ถ้ารับประทานอาหารมากเกินไปหรือเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้

            ส่วนการดูดไขมันเป็นเพียงการผ่าตัดเพื่อดูดไขมันส่วนเกินใต้ผิวหนัง ไม่ใช่วิธีการลดความอ้วน แต่ช่วยกำจัดไขมันส่วนเกินเฉพาะส่วน หลังผ่าตัดจะลดน้ำหนักได้เพียง 1-3 กิโลกรัม และไม่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูงและโรคอื่นๆ หายหรือดีขึ้นหลังผ่าตัด และผู้ป่วยจะต้องสวมผ้ายืดหรือผ้าพันบริเวณที่ผ่าตัดตลอดเวลา เป็นเวลา 1-2 เดือน


            คราวนี้ผู้อ่านทุกท่านก็รู้จักการผ่าตัดเพื่อลดน้ำหนักกันแล้ว ถ้าคิดว่าตนเองสมควรทำหรือไม่ อย่าตัดสินใจเอง ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนตัดสินใจ



ขอบคุณ Metabolic Health News